ปตท. มีภารกิจดูแลความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ “ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2040 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 ให้เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ
ปตท. ได้นำประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยนำเข้าในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ระยะยาวประจำปี ค.ศ. 2030 ตลอดจนแผนวิสาหกิจ ประจำปี ค.ศ. 2022-2026 ขององค์กร ซึ่งประกอบไปด้วย 3 แนวทางสู่การเติบโตเพื่อขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต คือ New Growth, Business Growth และ Clean Growth
โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก หรือ 3P
- Pursuit of Lower Emissions ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด กำหนดเป้าหมายระยะสั้นในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15 จากปี ค.ศ. 2020 ภายในปี ค.ศ. 2030 ด้วยการดำเนินงานที่สำคัญ
- Fugitive Emission and leak control ตรวจสอบและควบคุมการรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต
- Energy Efficiency ปรับปรุงกระบวนการผลิต อุปกรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- Carbon Capture Utilization (CCU) นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงธุรกิจด้วยการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
- การนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในกระบวนการผลิตและพื้นที่ปฏิบัติการทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
- การซื้อขายคาร์บอนเครดิตซึ่งธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับการเติมน้ำมันเรือขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (Green Bunker)
- Portfolio Transformation การลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดและธุรกิจใหม่ ปตท. กำหนดเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (Renewable energy) ให้ได้ 12 กิกะวัตต์ ภายในปี ค.ศ. 2030 และสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดและธุรกิจใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของงบประมาณการลงทุน (CAPEX) ระหว่างปี ค.ศ. 2021-2030
- Partnership with Nature and Society การเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ ผ่านการปลูกและบำรุงรักษาป่าไม้ รวมถึงพื้นที่สีเขียวต่าง ๆ ทั่วประเทศร่วมกับภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ โดยมีแผนดำเนินการปลูกป่าบกและป่าชายเลน รวมทั้งการบำรุงรักษารวมทั้งหมด 3.1 ล้านไร่ จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 4.15 ล้านตันต่อปี และพื้นที่ป่าที่เพิ่มขึ้นยังเพิ่มความหลากหลาย ทางชีวภาพอีกด้วย