5 ขั้นดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับห้างร้านค้าปลีก เมื่อการกู้โลกรวนนำไปสู่แต้มต่อทางธุรกิจและผลกำไร

Article

บทความที่แล้ว เราชวนคุณทำความเข้าใจตัวการโลกรวนในชีวิตประจำวันอย่างสินค้าอุปโภคบริโภค และความสำคัญในการเปลี่ยนมาใช้ทางเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นกับสิ่งแวดล้อมของของผู้บริโภคอย่างเราๆ รวมถึงความทรงพลังของ “ร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ต” ผู้เป็นตัวกลางจัดหาสินค้าจากผู้ผลิตและนำเสนอถึงมือผู้บริโภค 

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเจ้าของธุรกิจค้าปลีกมีอำนาจต่อรอง รวมถึงอำนาจในการเลือกสินค้าที่จะไปอยู่บนชั้นวาง หากร้านของคุณสนับสนุนผู้ผลิตและสินที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ สร้างตัวเลือกที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมให้ลูกค้า ก็เท่ากับทำให้ระบบอาหารในภาพรวมปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงนั่นเอง

ตอนที่ 2 ของสรุปรายงานวิจัยล่าสุดจาก Mckinsey&Company บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจอันดับ 1 ของโลก GCNT นำเสนอกลยุทธ์ในการวางแผนและลงมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องการสร้างร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ตยั่งยืน ที่เป็นมิตรกับโลก ปรารถนาดีต่อผู้บริโภค และเติบโตระยะยาว 

วิถีการจับจ่ายของผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนไป เมื่อความตระหนักเรื่องโลกรวนเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง ถ้าร้านค้าปลีกยังเพิกเฉย เลือกขายแต่สินค้าเดิมๆ ที่ไม่ยั่งยืน ก็จะทยอยสูญเสียลูกค้าไปเรื่อยๆ ประกอบกับเทรนด์การลงทุนในบริษัทที่ใส่ใจความยั่งยืนของนักลงทุนทั่วโลก และกฏหมายรวมถึงมาตรการของประเทศต่างๆ เพื่อกดดันให้แต่ละภาคส่วนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่นับจากนี้จะยิ่งเข้มข้นขึ้น

การที่ห้างร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ล้วนเดินหน้าผลักดันเรื่องนี้กันเต็มกำลัง คือเครื่องการันตีว่าถ้าอยากได้เปรียบในการแข่งขัน มีแต้มต่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด คุณต้องรูปแบบดำเนินการเพื่อ “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ทันทีก่อนใคร


ตัวกลางเชื่อมผู้ผลิตและผู้บริโภค

สำหรับร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ต การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 จากการดำเนินส่วนต่างๆ รวมถึงการใช้พลังงานภายในร้าน มีสัดส่วนเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยทั้งหมด อีก 93 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ มาจากการปล่อยในขอบเขตที่ 3 ซึ่งเกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ ของห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูปอาหาร ขนส่ง จัดเก็บแช่เย็น ไปจนถึงการบริโภค และของเสียที่เกิดขึ้นหลังการบริโภค ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมโดยตรงของร้านค้าปลีก 

อย่างไรก็ตามร้านค้าปลีกอยู่ใน “สถานะพิเศษ” เพราะเป็นตัวกลางในห่วงโซ่คุณค่าระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนั้นการผลักดันให้เกิดการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 3 จึงไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกว่าจะสำเร็จได้ โดย McKinsey ได้นำเสนอ 5 ขั้นดำเนินการสู่ “Net Zero Grocery” ดังนี้



ขั้นที่ 1 นำเสนอทางเลือกสินค้าที่ยั่งยืนกว่า

  • ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกหรือซูเปอร์มาเก็ต จะต้องจัดหาทางเลือกผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนกว่ามาวางขายในร้าน ทั้งสินค้าจากผู้ผลิตเจ้าต่างๆ และหากทางร้านมีสินค้าตราห้าง (House Brand) ก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดมลพิษด้วย

  • เช่น การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โปรตีนพืชแทนเนื้อสัตว์ โดยการกินแบบเน้นพืช ได้รับการยอมรับจากนักวิจัยชั้นนำทั่วโลกว่าช่วยให้สุขภาพดีขึ้น ในขณะที่ใช้ทรัพยากรในการผลิตน้อยลง และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

  • ในร้านค้าปลีกควรนำเสนอสินค้าแบบรีฟิล ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายโดยไม่มีบรรจุภัณฑ์ และมีชิ้นส่วนของบรรจุภัณฑ์ลดลง ในสหราชอาณาจักร ร้านค้าปลีกแห่งหนึ่งริเริ่มความร่วมมือกับแพลตฟอร์มช้อปปิ้งแบบหมุนเวียน เพื่อเพิ่มจำนวนของผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในภาชนะซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่งผลให้ผู้บริโภคลดการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

  • ร้านค้าปลีกควรเสนอทางเลือกอาหารตามฤดูกาล รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิภาคมากขึ้น การย่นระยะทางในการขนส่ง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาล ทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการลดความเสี่ยงที่จะเกิดการชะงักของห่วงโซ่อุปทานได้อีกด้วย


ขั้นที่ 2 บอกเล่าข้อมูลอย่างโปร่งใสแก่ผู้บริโภค 


  • ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางจำหน่ายบนชั้นสินค้าของร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ต ควรมีฉลากหรือป้ายที่ระบุผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างร้านค้าปลีกชั้นนำในสแกนดิเนเวีย ที่เปิดตัวแอปพลิเคชั่นซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถติดตามพฤติกรรมการซื้อของ และวิเคราะห์ผลกระทบด้านสภาพอากาศของตัวเองได้ โดยแอปพิลเคชั่นจะบันทึกประวัติการซื้ออัตโนมัติ ทำให้ผู้บริโภคเห็นข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเองอย่างเป็นรูปธรรม

  • เช่นเดียวกับร้านค้าปลีกในประเทศเยอรมัน ซึ่งติดป้ายแสดง "ต้นทุนที่แท้จริง" ของสินค้าไว้ข้างราคาขาย เพื่อสร้างความตระหนักและชี้ให้ผู้บริโภคมีข้อมูลเปรียบเทียบว่าสินค้าชิ้นใดยั่งยืนกว่า ก่อนจะเลือกหยิบสินค้าใดลงตะกร้า ในขณะที่ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส จัดวางผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชไว้ข้างๆ เนื้อสัตว์ที่เคาน์เตอร์ขายเนื้อในร้านสาขานำร่องทั่วประเทศ



ขั้นที่ 3 สนับสนุนและส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืน


  • ร้านค้าปลีกไม่เพียงเป็นผู้กำหนด ว่าจะเลือกนำผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรหรือผู้ผลิตที่พยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาวางขายหรือไม่ แต่ยังสามารถช่วยให้ผู้ผลิตเข้าใจความสำคัญและวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนช่วยจัดหาแหล่งทุน และช่วยขยายระยะเวลาของสัญญาซื้อขายออกไปได้หากจำเป็น

  • ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือร้านค้าปลีกชั้นนำของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่จัดตั้งกองทุนสภาพภูมิอากาศสนับสนุนเงินทุนสำหรับโครงการเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด โดยมุ่งเน้นที่การทำเกษตกรรรมอย่างยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ เช่น โกโก้ ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ และข้าว

  • กุญแจที่จะช่วยให้ภาคเกษตรกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง คือการปรับปรุงสายพันธุ์พืชและสัตว์ ตลอดจนการพัฒนาประสิทธิภาพการเลี้ยงดู และการเปลี่ยนไปสู่ระบบเกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) ซึ่งเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของดินและฐานทางชีวภาพของดิน ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต การแปลงก๊าซชีวภาพเป็นพลังงาน การใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน

  • นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง ธุรกิจค้าปลีกสามารถร่วมมือกับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรและบริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค (CPG) ได้ อย่างที่เกิดขึ้นแล้วในยุโรป ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมชั้นนำรายหนึ่งกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับฟาร์มเกือบ 8,000 แห่ง ใน 7 ประเทศ เพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืน อย่างการทำฟาร์มหมุนเวียน ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลง 24 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 1990



ขั้นที่ 4 ร่วมมือกับซัพพลายเออร์ขนาดกลางและเล็ก


  • ร้านค้าปลีกต้องเริ่มทำงานใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์เจ้าต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบผลิตภัณฑ์ และลดการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งลงให้น้อยที่สุด 

  • อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ทยอยเปิดตัวโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซัพพลายเออร์ขนาดกลางและเล็กอาจยังไม่มีความเชี่ยวชาญหรือทรัพยากรเพียงพอ ที่จะเริ่มต้นและเข้ามาส่วนร่วม ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ควรพิจารณาเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับซัพพลายเออร์รายย่อยเหล่านี้

  • อย่างผู้ค้าปลีกรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ที่จัดตั้ง Light­house Project เพื่อดึงดูดซัพพลายเออร์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ สู่การริเริ่มดำเนินการด้านสภาพอากาศ ครอบคลุมตั้งแต่การใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากร การจัดการของเสีย การปรับระบบขนส่ง การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายที่จะขจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากห่วงโซ่คุณค่าของโลก ให้ได้ 1,000 ล้านเมตริกตัน ภายในปี 2030



ขั้นที่ 5 สร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่


  • ในการขจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากระบบอาหารทั่วโลก เหล่าผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายยักษ์คือผู้ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง เพราะพวกเขามีอำนาจ เงินทุน และบุคลากร ทั้งยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากนักลงทุน องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากมาย รวมถึงผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกเองก็สามารถใช้สถานะคนกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค สร้างแรงจูงใจเพิ่มเติม เพื่อเร่งให้บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ดำเนินการอย่างแข็งขันขึ้น 

  • อย่างเช่น เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษ ที่ขอให้ซัพพลายเออร์รายใหญ่ 150 อันดับแรกของพวกเขา ตั้งเป้าหมายใหม่ที่มีความทะเยอทะยานในการลดการปล่อยคาร์บอนภายในสิ้นปี 2022

โอกาสเป็นของผู้ที่เริ่มก่อน

ในยุคที่อุตสาหกรรมต่างๆ ถูกดิสรัปกันเป็นว่าเล่น ธุรกิจค้าปลีกเองก็เช่นกัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นถึงเหตุผลที่เจ้าของร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ตต้อง “เปลี่ยน” เพื่อไม่ให้ตกขบวนการเติบโตในธุรกิจสีเขียว และพลาดโอกาสในการสร้างธุรกิจที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง

เช่น การติดตั้งสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในลานจอดรถของร้าน หรือการนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ อย่างเนื้อสัตว์ทางเลือกจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เหล่านี้คือการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็จริง แต่อีกมิติก็คือโอกาสในการดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ สร้างยอดขายจากสินค้าใหม่ๆ 

ถอยออกมามองในภาพกว้าง เมื่อร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ มีทางเลือกผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำวางขายอย่างแพร่หลาย พร้อมระดับราคาหลากหลายให้เลือกสรรตามความพร้อมของลูกค้าแต่ละกลุ่ม หน้าที่ของผู้บริโภคอย่างเราๆ คือการตระหนักถึงความสำคัญ และเลือกกินใช้สินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นทั้งประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและโลกใบนี้ 

__


สรุปและเรียบเรียงจาก https://www.mckinsey.com/industries/retail/our-insights/decarbonizing-grocery

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้