ความเสี่ยงจาก Climate Change ของธุรกิจภาคบริการและสิ่งที่โรงแรมต้องเตรียมรับมือ

Article


ตอนสุดท้ายของการสรุปเทรนด์โลก ทิศทางและความสำคัญของการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศในอุตสาหกรรมบริการจากงานสัมมนา
“ปลดล็อกการลงทุนสำหรับโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยืดหยุ่น” อ่านบทความตอนที่ 1 ได้ที่นี่ อ่านบทความตอนที่ 2 ได้ที่นี่

สำหรับตอนนี้ เราจะพูดถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมบริการโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม และเครื่องมือที่คนทำธุรกิจสามารถใช้วิเคราะห์ ประเมิน รวมถึงสร้างแผนการรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้นได้

ไม่ว่าจะเป็น Destination Water Risk Index (DWRI) ดัชนีประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับน้ำของพื้นที่ต่างๆ เพราะน้ำคือทรัพยากรที่สำคัญต่อธุรกิจภาคบริการ แต่ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทำให้พื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำมีมากขึ้น โรงแรมจึงต้องยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงของธุรกิจ

Building Resilience Index ดัชนีความยืดหยุ่นของอาคาร เนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรงแรมจึงต้องวางแผนออกแบบ ก่อสร้าง และปรับปรุงให้อาคารมีความยืดหยุ่น ทนต่ออันตรายทางธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศแปรปรวน โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อภัยธรรมชาติ 

ซีรีย์งานเสวนา “ปลดล็อกการลงทุนสำหรับโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยืดหยุ่น” เป็นความร่วมมือของ Sustainable Hospitality Alliance และ International Finance Corporation (IFC) ในเครือของธนาคารโลก เพื่อสนับสนุนให้โรงแรมทำธุรกิจโดยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน สามารถฟังงานเสวนาเต็มได้ที่นี่

01 น้ำสำคัญต่อธุรกิจท่องเที่ยวอย่างไร? 

น้ำคือแหล่งทรัพยากรพื้นฐานของทุกอย่างบนโลก แต่ปัจจุบันการขาดแคลนน้ำคือปัญหาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 2 พันล้านคน โดยวิกฤตินี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากการคาดการณ์ว่าในปี 2030 ความต้องการใช้น้ำ (demand) จะเกินความสามารถในการจัดหาน้ำ (supply) ถึง 40 เปอร์เซ็นต์

ความเสี่ยงด้านน้ำยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจทั่วโลก รวมถึงอุตสาหกรรมในภาคบริการเพราะน้ำมีความสำคัญทั้งต่อการจัดเตรียมอาหาร การทำความสะอาด ตลอดจนระบบทำความร้อนและความเย็นในโรงแรม 


ในภาพที่ใหญ่ขึ้นของการดำเนินธุรกิจ การขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบโดยตรงในด้านการเงิน เช่น วิกฤติขาดแคลนน้ำซึ่งเกิดขึ้นที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อระดับน้ำในเขื่อนลดลงตั้งแต่ปี 2015 จนถึงจุดย่ำแย่ที่สุดซึ่งมีน้ำเหลืออยู่เพียง 14-29 เปอร์เซ็นต์ของเขื่อนในปี 2017 และ 2018 ในเวลานั้นรัฐบาลท้องถิ่นจึงต้องออกมาตรการลดการใช้น้ำของเมืองในแต่ละวันลงมากกว่าครึ่ง 

การระงับการใช้น้ำส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ต้องหยุดชะงัก วิกฤติขาดแคลนน้ำดังกล่าวส่งผลให้ภูมิภาคต้องเสียรายได้จากอุตสาหกรรมบริการถึง 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ บทเรียนจากแอฟริกาใต้ทำให้ทั่วโลกเห็นถึงความสำคัญของการจัดการปัญหาการขาดแคลนน้ำระยะยาว ตลอดจนการบริโภคอย่างรับผิดชอบของทุกภาคส่วน

ทุกพื้นที่ในโลกมีโอกาสประสบกับสภาวะขาดแคลนน้ำ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมบริการก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายจุดหมายปลายทางทั่วโลก ดังนั้นมันจึงสำคัญมากที่คนทำธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความยืดหยุ่นและทนทาน (climate resilience) ต่อความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ (climate risk) ตลอดจนผลกระทบที่ธุรกิจส่งผลต่อชุมชนท้องถิ่น

02 Action ด้านน้ำที่ธุรกิจของคุณทำได้ทันที

เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมในภาคบริการให้ตระหนักต่อความสำคัญด้านน้ำ Sustainable Hospitality Alliance เครือข่ายพันธมิตรโรงแรมกว่า 50,000 แห่งทั่วโลก ได้ทำการวิจัย Destination Water Risk Index (DWRI) ร่วมกับ Ecolab ผู้นำด้านเทคโนโลยีน้ำ สุขอนามัย และพลังงาน รวมถึง Greenview บริษัทที่คำปรึกษาองค์กรด้านการบริการ และ STR ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการตลาดสำหรับอุตสาหกรรมบริการ

โดย DWRI ได้ประเมินความเสี่ยงของจุดหมายปลายทาง 380 แห่ง ใน 63 ประเทศทั่วโลก ในแง่การเป็นพื้นที่น้ำตึงเครียด (water stress area) ซึ่งอุปทานน้ำไม่สามารถตอบสนองต่ออุปสงค์น้ำได้ โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ความพร้อมใช้ของทรัพยากรน้ำ คุณภาพน้ำและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ กรอบการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ การเติบโตประชากร การท่องเที่ยว โรงแรมและความต้องการใช้น้ำ


ข้อมูลจากรายงานระบุว่า 13 เปอร์เซ็นต์ ของจุดหมายปลายทางทั้งหมดที่ได้รับการประเมินทั่วโลกมีความเสี่ยงด้านน้ำในระดับสูง และส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยเฉพาะ 4 เมือง ที่มีความเสี่ยงด้านน้ำในระดับสูงมาก อย่างเดลี ประเทศอินเดีย มัลดีฟส์ เมืองชิงเต่าและเมืองซีอาน ประเทศจีน


สิ่งที่ควรเกิดขึ้นนับจากนี้ คือการร่วมมือกันของอุตสาหกรรมบริการ เพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในแต่ละท้องถิ่น โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการเชิงรุกเช่นกัน เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์วิกฤตน้ำที่มีโอกาสเพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กล่าวไปข้างต้น

  • นักลงทุนและผู้ดำเนินธุรกิจในภาคบริการจำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงด้านน้ำที่จะต้องรับมือในอนาคต
  • เริ่มจากการจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
  • จากนั้นใช้กลยุทธ์การดูแลน้ำในการพัฒนาและการดำเนินงานโรงแรมของตน

ปัจจุบันมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพหลายอย่าง ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ในอาคาร เพื่อลดการใช้น้ำในขั้นตอนต่างๆ ของธุรกิจลงได้ เช่น สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำที่มีอัตราการไหลของน้ำต่ำกว่า หรือใช้น้ำน้อยลงต่อการล้างหนึ่งครั้ง ตลอดจนระบบการเก็บน้ำฝนและนำกลับมาใช้ใหม่

อ่านรายงานวิจัย Destination Water Risk Index ฉบับเต็มที่นี่ เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงเกี่ยวกับน้ำ และการมีส่วนร่วมที่ธุรกิจโรงแรมสามารถทำร่วมกับชุมชนท้องถิ่น รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ธุรกิจของคุณทำได้ทันทีเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ

03 สร้างแต้มต่อให้ธุรกิจด้วย Green & Resilient Building 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบมหาศาลต่อธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว

  • ความหลากหลายทางชีวภาพเกี่ยวข้องโดยตรงกับทรัพยากรที่โรงแรมต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่วัสดุก่อสร้างไปจนถึงวัตถุดิบอาหาร ตลอดจนพลังงานและต้นทุน operation 
  • ความสมบูรณ์ของพื้นที่ส่งผลต่อคุณค่าและมูลค่าของพื้นที่ในเชิงการท่องเที่ยว เช่น ปรากฏการณ์ทะเลกรด (ocean acidification) และคลื่นความร้อนทางทะเล (marine heat waves) ทำให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่อปะการังและสิ่งมีชีวิตทางทะเลถูกทำลาย ย่อมส่งผลโดยตรงต่อการท่องเที่ยวทางทะเลชายฝั่งและมหาสมุทร
  • ภัยพิบัติซึ่งจะเกิดถี่และรุนแรงขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลกระทบต่อโครงการทางกายภาพ เช่น อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมีความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายหรือพังทลาย ทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก 

ทุกวันนี้ 40 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโลก เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานภายในอาคาร และอาคารทั่วโลกจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นสองเท่าในปี 2060

ดังนั้นมันจึงสำคัญมากที่เราจะต้องผลักดันให้อาคารเกิดใหม่ในพื้นที่ต่างๆ เป็นอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green building) ที่ลดการใช้พลังงานและเป็นอาคารที่มีความยืดหยุ่น (resilient building) ซึ่งทนต่ออันตรายทางธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศแปรปรวนได้ โดยสามารถดำเนินกิจการต่อไปโดยไม่หยุดชะงักหลังจากภัยพิบัติอันตรายที่รุนแรง

ที่ผ่านมา IFC สถาบันการเงินในเครือของธนาคารโลกได้ขับเคลื่อนพาร์ทเนอร์การลงทุนให้สนับสนุนการสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะในโครงการด้านโรงแรมในตลาดเกิดใหม่ (emerging market) ของประเทศที่กำลังพัฒนา 95 ประเทศ 

  1. IFC สร้างระบบรับรองอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม EDGE (Excellence in Design for Greater Efficiencies) รวมถึง EDGE Application ซอฟแวร์วิเคราะห์และสร้างกลยุทธ์ปรับปรุงอาคาร ซึ่งเปิดให้ใช้งานฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อส่งเสริมโครงการอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
  2. นอกจากนี้ IFC ยังได้สร้าง Building Resilience Index ดัชนีความยืดหยุ่นของอาคารขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก โดยพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการออกแบบ ก่อสร้าง และปรับปรุงให้อาคารมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจในการเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงต่อภัยธรรมชาติ หลายอย่างเลวร้ายลงด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันตรายเหล่านี้รวมถึงน้ำท่วม แผ่นดินไหว คลื่นพายุ ภัยแล้ง ภูเขาไฟระเบิด และอื่นๆ อีกมากมาย 

เจ้าของธุรกิจ ธนาคาร บริษัทประกัน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ Building Resilience Index ในการประเมิน ปรับปรุง และเปิดเผยความยืดหยุ่นของโครงการอสังหาริมทรัพย์หรือพอร์ตการลงทุนของตนได้


ปัจจุบัน IFC กำลังดำเนินโครงการนำร่องผลักดันพื้นที่อาคาร 1 ล้านตร.ม. ในประเทศฟิลิปปินส์ให้ทนทานต่อภัยธรรมชาติ เนื่องจากฟิลิปปินส์เป็นจุดที่อันตรายทางธรรมชาติเนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และรัฐที่เป็นหมู่เกาะ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพายุไต้ฝุ่นส่วนใหญ่ และตั้งอยู่บนแนววงแหวนแห่งไฟในมหาสมุทรแปซิฟิก

สามารถอ่านรายละเอียดและทำความเข้าใจ Green & Resilient Building เพิ่มเติมได้ที่นี่

รายละเอียดเพิ่มเติม

Sustainable Hospitality Alliance (SHA) ได้เปิดตัวกลยุทธ์ระยะเวลา 5 ปี Pathway to Net-Positive Hospitality ที่จะแปลงไปสู่การปฏิบัติจริง ผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานมาตรวัดความยั่งยืนทั่วทั้งอุตสาหกรรมบริการ กลยุทธ์นี้ใช้แนวทางแบบองค์รวมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับอุตสาหกรรมดำเนินการโดยคำนึงถึงการสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สิ่งแวดล้อม ชุมชน และเศรษฐกิจมากกว่าผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้น 

เจ้าของและผู้บริหารธุรกิจโรงแรมที่ต้องการศึกษารายละเอียดของแต่ละขั้นตอน เพื่อเริ่ม Climate Action อย่างเป็นรูปธรรม สามารถศึกษา Pathway to Net Positive Hospitality ได้ที่นี่
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้