อนาคตประเทศไทยกับความมั่นคงทางอาหาร พลังผู้บริโภคจะเป็นผู้กำหนดความยั่งยืน

Article
#SDGsMegaTrend2020
คุณวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

          - คน คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ความยั่งยืนอาจไม่ยั่งยืนได้ในอนาคต วันนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องหันมาดูว่า จะจัดการตัวเราอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน

          - บางอย่างที่เราอาจสูญเสียไป จะสามารถสร้างประโยชน์มหาศาลแก่ภาคส่วนอื่นได้ อย่างเช่น เราอาจต้องลงทุนสร้างนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น

          - ผู้บริโภคจะเป็นตัวเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ผลิต เป็นคนสำคัญที่จะช่วยโลกได้ วันนี้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากคุณจะดูประโยชน์ทางโภชนาการบนฉลากแล้ว อาจต้องช่วยกันดูที่มาของอาหารด้วย

 

          อาหาร คือปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต และยังเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงการดำรงอยู่ของมนุษย์ในมิติต่างๆ อย่างสัมพันธ์กัน ดังจะเห็นได้ว่าปัจจุบันกระบวนการผลิตอาหารจากเกษตรกรจนถึงมือผู้บริโภค ล้วนเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบกับสิ่งต่างๆ ทั้งสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม ประชากร คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย ฯลฯ ดังนั้น ท่ามกลางความผันผวนที่เกิดขึ้นทั่วโลกในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติด้านพลังงาน ปัญหาโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม หรือการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว จึงจุดประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร ให้กลายเป็นหนึ่งในวาระที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ

          สำหรับประเทศไทย พื้นแผ่นดินที่เราทุกคนคุ้นเคยกับคำว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มาตั้งแต่อดีต ถึงวันนี้จะต้องเตรียมตัวเผชิญหน้ากับความท้าทายในประเด็นนี้อย่างไร เราจะขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารให้สอดคล้องกับความยั่งยืนในทิศทางใด คุณวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติมาชวนคิดชวนคุยประเด็นนี้ โดยพุ่งเป้าไปที่พฤติกรรมของ ‘คน’ เป็นตัวแปรสำคัญ



          “ถ้าเรามองบริบทเรื่องความยั่งยืน เราจะพบว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับทุกชีวิตบนโลก ไม่ใช่แค่คน แต่ว่าคนนี่แหละคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ความยั่งยืนอาจจะไม่ยั่งยืนได้ในอนาคต วันนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องหันมาดูตัวเราในโลกปัจจุบันว่า เราจะจัดการตัวเราอย่างไรให้ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้”

          ในฐานะบริษัทผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรของประเทศไทย ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็นครัวของโลก ที่ในวันนี้ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรมากกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ได้ขับเคลื่อนการทำงานผ่าน 3 เสาหลัก ได้แก่ ‘อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่’ เพื่อตอบโจทย์สำคัญของโลกและประเทศนั่นคือ ‘ความมั่นคงของอาหาร การผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน’

          “CPF เดินหน้าการทำงานใน 3 เสาหลักนี้อย่างต่อเนื่องทั้งในกระบวนการคิด การจัดการธุรกิจ รวมไปถึงกระบวนการผลิต กลไกบริษัทของเราขับเคลื่อนไปด้วยคุณภาพของสินค้าคือ Product กระบวนการผลิตคือ Process มีคน คือ People และตัวสุดท้ายคือ Planet ซึ่งหมายถึงโลก ที่เราจะต้องดูแล โดยมีปรัชญาการดำเนินงาน 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน คือ ประโยชน์ต่อประเทศ ต่อประชาชน และต่อองค์กรของเรา”

          “สำหรับปีนี้ในฐานะผู้ผลิต เราได้นำเอาแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy มาใช้อย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ที่ผ่านมาเราริเริ่มนำถังบรรจุอาหารสัตว์ขนาดใหญ่ เรียกว่า BULK FEED TANK มาทดแทนถุงพลาสติกบรรจุอาหารสัตว์ ซึ่งทำให้ลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 9,600 ตัน เราใช้ Q-PASS TANK มาใช้บรรจุลูกพันธุ์กุ้งเพื่อขนส่ง ทดแทนการใช้ถุงพลาสติก ช่วยลดปริมาณขยะไปถึง 1,700 ตัน เรายังเอาแนวคิด Zero Waste มาใช้ในกระบวนการผลิตของเราทั้งหมด ตั้งแต่การทำความเข้าใจกับเกษตรกรต้นทาง สร้างระบบบริหารจัดการวัตถุดิบภายในโรงงาน จนกระทั่งถึงปลายทาง พวกเศษอาหาร มูลสัตว์ต่างๆ เราก็สามารถเอาไปแปรรูปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด”

          อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการดำเนินการเรื่องความยั่งยืนของอุตสาหกรรมธุรกิจอาหารอยู่ที่การต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคอย่างยิ่งยวดในอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งบางครั้งทางออกของเรื่องนี้ อาจจำเป็นต้องอาศัยการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาเสริม จึงอาจต้องส่งผลกระทบต่อการลงทุนเพิ่ม แต่ในมุมมองของ CPF นั้น อาจเรียกการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นนี้ว่า ‘ขาดทุนคือกำไร’ ดังที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยทรงมีพระราชดำรัสไว้

          “เราจะมองว่าเราอาจสูญเสียบางอย่างไป แต่จะสามารถสร้างประโยชน์มหาศาลแก่ภาคส่วนอื่นได้ อย่างเช่น เราอาจต้องลงทุนสร้างนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ผมคิดว่าถึงวันนี้เราก็จำเป็นต้องลงทุนนะ แต่สุดท้ายแล้วผมเชื่อว่าสิ่งที่เราลงทุนไป มันจะย้อนกลับมาในรูปแบบของความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งในที่สุดแล้ว ธุรกิจจะอยู่ได้ก็ด้วยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อองค์กรของเรา”

          อาจกล่าวได้ว่า ความมั่นคงของอาหารในวันนี้ จึงไม่ใช่เฉพาะในมิติเชิงปริมาณที่เพียงพอ แต่ยังหมายรวมถึงคุณภาพของอาหารที่ปลอดภัย มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากภาคธุรกิจจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความมั่นคงและยั่งยืนของอาหารให้เกิดขึ้นได้แล้ว กลไกหนึ่งที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมนั่นคือ พลังของผู้บริโภค

          “ผู้บริโภคจะเป็นตัวเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ผลิต เป็นคนสำคัญที่จะช่วยโลกได้ วันนี้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากคุณจะดูประโยชน์ทางโภชนาการบนฉลากแล้ว อาจจะต้องช่วยกันดูที่มาของอาหารด้วย ซึ่งการช่วยกันเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความยั่งยืน สนับสนุนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยโลกให้ยั่งยืนได้” คุณวุฒิชัยย้ำถึงพลังของผู้บริโภคก่อนจะฝากข้อคิดทิ้งท้ายไว้ว่า

          “ถ้าเรารักครอบครัวของเรา ผมก็อยากให้ทุกคนคิดว่า โลกนี้คือบ้านของเรา เรามีโลกอยู่ใบเดียว ถ้าทำโลกนี้ให้ดีได้ ครอบครัวของเราก็มีความสุขด้วยเช่นกัน” 

ดาวน์โหลด 5 แนวโน้มสําคัญเพื่อจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้