เปิดวิสัยทัศน์ผู้นำ จากเวที GCNT Forum 2024 Inclusive Business สร้างสังคมที่เท่าเทียม

UNGCNT News

ผู้นำความยั่งยืนจากภาคธุรกิจ หลากหลายอุตสาหกรรม หลากหลายขนาด เปิดวิสัยทัศน์และมุมมองจากประสบการณ์การดำเนินงานด้วยแนวคิดธุรกิจแห่งอนาคต ที่จะสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืน  ในการประชุมประจำปี GCNT Forum 2024: Inclusive Business for Equitable Society โดยสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT) พร้อมด้วยสมาชิกองค์กรธุรกิจชั้นนำ 141 องค์กร ร่วมกับสหประชาชาติในประเทศไทย ซึ่งในงานมีการเสวนา 3 หัวข้อ ได้แก่ (1) Inclusive Business Landscape เปิดมุมมองของซีอีโอ ถึงภาพรวมของ Inclusive Business Landscape ในประเทศไทย ความท้าทายที่เผชิญ และโอกาสทางธุรกิจที่เกิดจากการนำแนวคิดนี้ไปสู่การลงมือทำ (2) Bold Step, Lasting Change – Collective Actions to Accelerate Human Capital  ไขกุญแจสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ ผ่านการแบ่งปันทรัพยากร ความรู้ และประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและผลลัพธ์ที่ยั่งยืน (3) Environment/ Agri/ Food System Transformation  แชร์วิสัยทัศน์ธุรกิจด้วยโมเดล Inclusive Business ที่เติบโตไปพร้อมกับสังคม ชุมชน ลูกค้า และสิ่งแวดล้อม

เวทีแรก Inclusive Business Landscape  


เปิดเวทีแรก เปิดวิสัยทัศน์ของซีอีโอองค์กรสมาชิก UNGCNT ได้แก่ คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คุณฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)หรือ บีเจซี คุณปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานผู้ก่อตั้ง
บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) และคุณมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการบริหาร 
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกันถึงภาพรวมของ Inclusive Business Landscape ในประเทศไทย พร้อมตัวอย่างแนวปฎิบัติที่ดีจากประสบการณ์ตรงของแต่ละองค์กร   


 ซีอีโอ กสิกรไทย ย้ำบทบาทของธนาคารพาณิชย์ ในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ผ่านการทำหน้าที่นำผลิตภัณฑ์ทางการเงินไปสู่ลูกค้าอย่างเหมาะสม ในราคายุติธรรม โดยให้ความสำคัญกับการปิดช่องว่างระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทเล็ก ด้วยการสนับสนุนคนตัวเล็กที่มีไอเดียและนวัตกรรม ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง Financial Resilience และวินัยทางการเงินให้กับผู้คนในสังคม  

ซีอีโอ บีเจซี  ชี้จุดยืนของธุรกิจค้าปลีกที่ให้ความสำคัญกับการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม ตั้งแต่การดูแลพนักงาน จนถึงการดูแลคู่ค้า  ด้วยการสนับสนุนสินค้าราคาดีให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้มีกำไร และสามารถสร้างความเติบโตทางธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งเชื่อมโยงไปถึงเกษตรกรด้วยการรับซื้อผลผลิตโดยตรง และการสร้างความรู้ที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ  

ผู้ก่อตั้ง แพรนด้า จิวเวลรี่ ให้มุมมองจากธุรกิจเครื่องประดับว่า คนที่สำคัญที่สุด คือ พนักงาน ช่างฝีมือ จึงต้องถนอมรักษาให้ดีที่สุดในห่วงโซ่การผลิต เมื่อรับคนเข้ามาทำงาน ต้องดูแล โดยมีคีย์เวิร์ด คือ CARE เมื่อให้ความสำคัญกับพนักงานจะผลักดันให้ต้องไป CARE ส่วนอื่นต่อ ไม่ว่าจะเป็นสังคมและสิ่งแวดล้อม 

ซีอีโอทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า นอกจากสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ประเทศ ยังสร้างการเข้าถึงดิจิทัลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยใช้องค์ความรู้
ด้านเทคโนโลยีที่มี  ทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อให้เกิดการบูรณาการ ยกระดับประสบการณ์ และการใช้งานให้ปลอดภัยมากขึ้น เช่น ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกทำแอปพลิเคชั่น เพื่อให้เด็กออทิสติกเกิดการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น และช่วยเหลือตัวเองได้  ร่วมมือกับ GSMA (Global System for Mobile Communications) เดินหน้าในเรื่องของ Cyber Security เพื่อดูแลคนไทย เป็นต้น

 “ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร จะมี 2 ใบอนุญาต (License) คือ Banking license และ Social license หากเราไม่ได้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ไม่ทำธุรกิจอย่างมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ ดูแลลูกค้าอย่างดี ดูแลพนักงานอย่างดี เราก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่ในสังคมนี้” คุณขัตติยา  กล่าว

เวทีที่สอง ก้าวสำคัญ เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ สู่สังคมยั่งยืน


ต่อด้วยเวทีที่สอง ที่ตอกย้ำถึงการพัฒนา ”ทุนมนุษย์” เพื่อพัฒนาองค์กรและสังคมยั่งยืน ผ่านการแบ่งปันทรัพยากร ความรู้ และประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและผลลัพธ์ในระยะยาว  ด้วยมุมมองจาก คุณปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน)  ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และคุณเชา วง ยวน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืน ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย (มหาชน)  

เซ็ปเป้  แชร์ว่า ต้องการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนสำคัญขององค์กร เช่น พนักงาน ชุมชน ลูกค้า  และมองว่า “คน” เป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนองค์กร โดยให้ความสำคัญกับการคัดเลือกคนทำงานให้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์กร (Core Value) และพัฒนาคนในทุกองค์ประกอบทั้ง Hard Skills, Soft Skills และ Well Being รวมทั้งทำให้องค์กรเป็นพื้นที่เปิดกว้างที่ทุกคนสามารถระดมสมองหรือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้  นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเหลือเกษตรกร ยกระดับสินค้าไทยไปขายทั่วโลก ตลอดจนออกแคมเปญสื่อสารกับสังคม เรื่องความเท่าเทียมและความหลากหลาย ภายใต้ Concept : Equality & Diversity 

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ชี้ว่าภาคเอกชน ควรจะมีส่วนร่วมลดความเหลื่อมล้ำของโลก โดยบูรณาการความยั่งยืน เข้ากับการดำเนินธุรกิจหลักขององค์กร โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต (Future Skill) ให้กับบุคลากร โดยได้แชร์ 5 เรื่องหลักเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนของเครือฯ  ได้แก่ ความโปร่งใส การสร้างเครือข่ายตลาด การพัฒนาผู้นำและผู้มีความสามารถพิเศษ การเสริมพลัง และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมทั้งย้ำถึงความสำคัญของการนำความยั่งยืนเข้าสู่ระบบการศึกษา เตรียมเครื่องมือและความรู้ที่จำเป็นให้คนรุ่นต่อไป รับมือกับความท้าทายระดับโลก และรับประกันอนาคตที่ยั่งยืนและเสมอภาคมากขึ้น

ยูโอบี  เน้นที่การพัฒนาคนของยูโอบีให้เข้าใจเรื่องความยั่งยืน มีทักษะและวิธีคิดแบบมืออาชีพ รวมทั้งมีความสามารถที่จะช่วยนำพาลูกค้าและพาร์ทเนอร์ให้เข้าสู่เส้นทางความยั่งยืน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในเป้าหมาย Net Zero และการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการให้สินเชื่อส่งเสริมธุรกิจสีเขียว เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจสีเขียวเกิดขึ้นได้จริง  รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมด้านความยั่งยืนใกล้ตัว เช่น การจัดการขยะ ที่พนักงานทุกระดับ รวมทั้งครอบครัวของพนักงาน ได้มีส่วนร่วมกับธนาคาร และยังมีโครงการ Money 101 ให้ความรู้ด้านการเงินที่ยั่งยืนก้บเยาวชนด้วย

“ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการร่วมแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แต่มีหลายเรื่องที่อาจแก้ไขไม่ได้ใน เจนเนอเรชั่นเรา วันนี้สิ่งที่ท้าทาย  คือ การส่งมอบเครื่องมือและความรู้ให้คนรุ่นใหม่  โดยปลูกฝังเรื่องความยั่งยืนเข้าสู่ระบบการศึกษา” ดร. ธีระพล กล่าว

เวทีที่ 3 เปิดวิสัยทัศน์ผู้นำรุ่นใหม่ กับโมเดลธุรกิจที่เติบโตไปกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

เวทีที่ 3 นำเสนอวิสัยทัศน์และประสบการณ์ในการทำธุรกิจด้วยโมเดล Inclusive Business ที่มุ่งเติบโตไปพร้อมกับสังคม ชุมชน ลูกค้า และสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้นำเสนอ 3 ท่าน คือ  คุณปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา ผู้ก่อตั้งโครงการเมนทัลมี และตัวแทนเยาวชน คุณนฤมล ทักษอุดม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิลล์คอฟฟ์ จำกัด และ คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็น อาร์ อินสแตนท์โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน)

ผู้ก่อตั้งโครงการเมนทัลมี และตัวแทนเยาวชน จุดประกายว่า เยาวชนรุ่นใหม่ต้องการเห็นธุรกิจที่ไม่เพียงแต่ให้ค่าตอบแทนที่ยุติธรรม แต่ยังให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน วัฒนธรรมองค์กรที่ดี และความหมายของงานที่ทำด้วย  รวมทั้งได้แบ่งปันประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัวไปสู่ Inclusive Business โดยเสนอ CEL Framework กรอบแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางสร้าง Inclusive Business ประกอบด้วย C-Connect การเชื่อมโยงธุรกิจกับสังคมและสิ่งแวดล้อม E-Empower การเปิดโอกาสให้กลุ่มเปราะบางเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจและกระบวนการทำงานมากยิ่งขึ้นและ L-Listen การรับฟังเสียงของทุกฝ่ายโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ฮิลล์คอฟฟ์ แบ่งปันว่า ได้ลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อค้นหาวิธีการผลิตกาแฟที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยเริ่มจากการศึกษาห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ตั้งแต่การปลูก จนถึงการแปรรูปและจำหน่าย โดยอาศัยฐานทรัพยากรเดิมในพื้นที่ ร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน โดยส่งเสริมการทำการเกษตรแบบยั่งยืนที่ลดการใช้สารเคมี รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ อาหารตามฤดูกาล และร่วมมือสร้างสังคมเกษตรคนดีกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงาน และสามารถส่งต่อคุณค่าการทำงานจากต้นน้ำ ผ่านฮิลล์คอฟฟ์ที่เป็นกลางน้ำ ไปสู่ผู้บริโภคปลายน้ำ ขยายผลสู่สังคมกาแฟคาร์บอนต่ำ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ร่วมกัน

เอ็นอาร์เอฟ เปิดเผยว่า ได้พยายามขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net-Zero ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  และเมื่อวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน พบว่า การเผาไร่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ  จึงนำเทคโนโลยี Biochar หรือถ่านชีวภาพจากการเกษตรมาใช้แก้ไขปัญหา โดยการแปรรูปเศษวัสดุทางการเกษตรให้เป็นถ่านชีวภาพ ซึ่งสามารถกักเก็บคาร์บอนได้เป็นเวลานาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไร่ รวมทั้งออกแบบให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถทำถ่านชีวภาพกันเองได้ระดับหมู่บ้าน  ขณะนี้กำลังดำเนินการวิจัย ถ้าสำเร็จจะเป็นโครงการนำร่องที่จะขยายทั่วโลก พร้อมทั้งยังย้ำว่าหากสภาพภูมิอากาศยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลงอย่างมาก และส่งผลให้เกิดวิกฤตอาหารทั่วโลกก่อนปี 2050 และคนยากจนจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด จึงขอเรียกร้องให้ทั้งภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไปร่วมมือกันแก้ไขปัญหา

“ถ้าท่านเป็นซีอีโอ จงมุ่งมั่นสู่เป้าหมาย Net-Zero ผสาน SDGs เข้ากับ KPI ของบริษัท  ถ้าเป็นผู้บริโภค ให้เลือกสินค้าที่ไม่เกิดขึ้นจากการตัดป่า การเผาไร่ วันนี้เราทำได้”  คุณแดน กล่าว

นิยามใหม่   กำไร = ผลกระทบเชิงบวกต่อผู้คนและโลก

หลังการเสวนาข้างต้น  ดร. ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ UNGCNT ได้กล่าวสรุปว่า นิยามใหม่ของ "กำไร" อาจไม่ใช่แค่ผลตอบแทนทางการเงิน แต่คือผลกระทบเชิงบวกที่สร้างคุณค่าให้กับผู้คนและโลกใบนี้  และกล่าวย้ำว่า ธุรกิจ Inclusive Business  มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างผลกระทบทางสังคมและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยให้ผลกระทบทั้งสองเสริมสร้างกัน  หลักการทั้งหมดมีเป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์ ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน รวมถึงมุ่งเน้นขยายโอกาสทางธุรกิจ เพื่อสร้างผลกระทบที่กว้างไกลขึ้น

“เราอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญและเป็นโอกาสในการพลิกโฉมธุรกิจเพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืน สำหรับทุกคน เพราะเราต่างมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน ชุมชน ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือบริษัทขนาดใหญ่ นั่นคือผู้ผลิตทุกรายไปจนถึงผู้บริโภค  เหลือแต่เพียงว่าธุรกิจเราพัฒนาและปรับตัวเพื่อเข้าสู่สังคมที่เท่าเทียม ซึ่งจะทำให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนได้อย่างไร” ดร. ธันยพร  กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้  ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับ Inclusive Business และสรุปทั้ง 3 เวทีเสวนา ได้ทางเว็บไซด์สมาคมเครือข่าย
โกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT)  www.globalcompact-th.com

 

 

 

 

 



ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้